ความเป็นมามาวันราชภัฏ

ทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “ วันราชภัฏ ” สืบเนื่องจาก วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม สถาบันราชภัฏ แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ และได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตราพระราชลัญจกรส่วนพระองค์ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจสูงสุดมาสู่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ซึ่งชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สมควรจะเทิดพระมหากรุณาธิคุณนี้ไว้เหนือเกล้าและจงรักภักดีด้วยการตั้งปณิธานที่จะประพฤติ และปฏิบัติหน้าที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ในการพัฒนาประเทศและบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พี่น้อง ประชาชนชาวไทย ดังนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถือว่าเป็น วันราชภัฏ ซึ่งชาวมหาวิทยาลัย และถือเป็นการสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏด้วยเช่นกัน “

คำว่า “ ราชภัฏ ” ให้ความหมายที่กินใจความว่า “คนของพระราชา…ข้าของแผ่นดิน” หากตีความตามความรู้สึกยิ่งกินใจและตีความได้กว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีกนั่นก็คือ “การถวายงานประดุจข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่ต้องถวายงานอย่างสุดความสามารถ สุดชีวิต และสุดจิตสุดใจ” ซึ่งการเป็นคนของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทย่อมเป็นข้าของแผ่นดินอีกด้วย เนื่องจากว่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทผู้เป็นมิ่งขวัญของพวกเราชาวราชภัฏ ทรงเป็นแบบอย่างการทรงงานเพื่อบ้านเมือง และแผ่นดินอย่างที่มิเคยทรงหยุดพักแม้เพียงนิด แม้ยามที่ทรงประชวรก็ไม่เคยหยุดทรงงาน เพื่อความสุขของปวงชนชาวสยามของพระองค์นั้นเองด้วยเหตุผลเหล่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจึงได้พระราชทานพระราชลัญจกร อันเป็นเครื่องประกอบพระราชอิศริยยศ พระราชอิศริยศักดิ์ ลงมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประหนึ่งเครื่องเตือนความทรงจำว่าพวกเราชาวราชภัฏคือ “คนของพระราชา และข้าของแผ่นดิน”

เนื่องในวันราชภัฎ ในทุกๆ มหาวิทยาลัยราชภัฎทั่วประเทศ จึงได้จัดกรรมต่างๆ ขึ้นอาทิ การทำบุญตักบาตร การจัดนิทรรศการ การเสวนาทางวิชาการ และการมอบรางวัลต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีต่อการสนับสนุนอุดมการณ์ของ “ชาวราชภัฎ” หนึ่งในรอบปีมีวาระสำคัญอย่างยิ่งที่พวกเราเลือดราชภัฎจะถือโอกาสในการทำงานเพื่อสนองแนวทางพระราชดำริสืบต่อพระราชปณิธานและสืบสานพระราชประสงค์ เหมาะสมกับการเป็น “ข้ารองพระยุคลบาทยิ่ง” และอย่างให้ชาวราชภัฏทุกท่านสำนึกอยู่เสมอว่า “มีหน้าที่อุทิศตนทำงานทุกอย่าง เพื่อเป็นบทพิสูจน์ความจงรักภักดิ์ดี และเทิดทูนใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท และล้นเกล้าล้นกระหม่อมทุกๆ พระองค์อย่างหาที่สุดมิได้ สำคัญนักเรียน นักศึกษา ครู คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ พวกเราชาวราชภัฏต้องเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเกศี ด้วยการปฏิบัติทึกภาระกิจที่ได้รับมอบหมายประหนึ่งทำถวายใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในทุกกรณี เพราะพวกเราชาวราชภัฎคือ “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”

 

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนาม ” ราชภัฏ ” และตราประจำมหาวิทยาลัย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเกียรติยศสูงสุดแก่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วพระราชอาณาจักร โดยนาม ” ราชภัฏ หมายความว่า เป็นคนของพระราชา”

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ พิจารณาจากดวงตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 เพื่อกำหนดรูปแบบสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏ และได้รับพระราชทานมาเป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วพระราชอาณาจักร ซึ่งมีรายละเอียดที่สมควร นำมากล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้คือ

 

 

ตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ
1. เป็นรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ให้กำเนิดสถาบัน
2. เป็นรูปแบบที่เป็นกลาง เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นที่ตั้ง ธรรมชาติ และความสอดคล้องกับชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ได้รับพระราชทาน
3. สีของตราประจำมหาวิทยาลัย มี 5 สี โดยมีความหมาย ดังนี้
สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”
สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

รายชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏมีทั้งหมด 38 แห่งโดยแบ่งตามการจัดงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของกลุ่ม ดังนี้

กลุ่มภาคกลาง
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (มรกจ./KRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (มจษ./CRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี (มรท./TRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (มรธ./DRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (มรน./NPRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส./BSRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (มรภ.พน./PNRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา (มรอย./ARU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (มรภ.พบ./PBRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (มรร./RRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี (มรรพ./RBRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (มรว./VRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มรภ.สส./SSRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง (มรมจ./MCRU)

กลุ่มภาคใต้
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (มรภ.นศ./NSTRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (มรภ./PKRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรย./YRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สข./SKRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส./SRU)

กลุ่มภาคเหนือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (มรภ.กพ./KPRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (มรภ.ชร./CRRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (มรภ.ชม./CMRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (มรภ.นว./NSRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (มร.พส./PSRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ (มรภ.พช./PCRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (มรภ.ลป./LPRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (มรอ./URU)

กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ (มชย./CPRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (มร.นม./NRRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มรภ.บร./BRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มรม./RMU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (ม.รอ./RERU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (มรล./LRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (มรภ.ศก./SSKRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (มรสน./SNRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (ม.รภ.สร./SRRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (มร.อด./UDRU)
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (มรภ.อบ./UBRU)

ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิทยาลัยราชภัฏ