วันที่ 28 กันยายน 2565  เวลา 10.09 น.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชิต กำมันตะคุณ รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด  เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการบริหารจัดการ ติดตาม และรายงานผล U2T For BGC ปี 2565 “U2T for BCG Roi-Et 2 Global” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสุนันท์  ประเสริฐสังข์  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และนวัตกรรมการพัฒนาท้องถิ่น  เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ หอประชุม 60 พรรษา  มหาวชิราลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ซึ่งมีเนื้อหา คือ  มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมีพันธกิจสำคัญ ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่น ชุมชนและสังคม ทั้งด้านการศึกษา การวิจัย การทำนุบำรุง ศิลปะวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น การบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน การพัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัยให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยการน้อมนำโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริมาประยุกต์ใช้ และการนำเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อให้ชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้มหาวิทยาลัย
ราชภัฎร้อยเอ็ด ในฐานะเป็นหน่วยงานขับเคลื่อน อว. ส่วนหน้าจังหวัดร้อยเอ็ด มีภารกิจสำคัญในการดำเนินงานขับเคลื่อน พัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง จากการนำทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ สู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทำให้ชุมชนมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เพื่อให้การการติดตามและรายงานผลโครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด  จึงได้จัดโครงการ U2T For BGC ปี 2565 “U2T for BCG Roi -Et 2 Global” ซึ่งการจัดโครงการ ในครั้งนี้คาดว่าจะเกิดประโยชน์ในการเสริมสร้างศักยภาพชุมชน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเกิดการพัฒนาสินค้า และบริการรวมถึงการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางวิชาการและทางธุรกิจซึ่งจะช่วยให้ชุมชน ท้องถิ่น เกิดรายได้และความยั่งยืนในชุมชน การจัดโครงการในครั้งนี้มีสถาบันเข้าร่วมจัดนิทรรศการ ประกอบด้วย อาจารย์ที่ปรึกษาตำบลและผู้เข้าร่วมโครงการตำบลในกำกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด และมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมจำนวนทั้งสิ้น 208 ตำบล การดำเนินโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ
๑. เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ U2T for BCG ของตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด ให้สอดคล้องกับเป้าหมายส่วนกลาง
๒. เพื่อให้คณาจารย์ บุคลากร บัณฑิตและประชาชนในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ U2T for BCG ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้องค์ความรู้ในการพัฒนานวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี รวมทั้งแนวทางการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ตำบล ๓. เพื่อให้เกิดการนำผลการพัฒนาสินค้าและบริการของตำบลสู่การขายทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์  ในการนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก